ช้อปอย่างไรไร้กังวล ผ่านศุลกากร | เกร็ดความรู้

ถ้าคุณเคยสงสัยว่า ไปเที่ยวต่างประเทศทั้งที นอกจากเรื่องกิน เรื่องเที่ยวชมสถานที่ยอดฮิตต่างๆ แล้ว อยากจะซื้อของชื่นชอบกลับบ้านจัง แถมเพื่อนฝากซื้ออีกต่างหาก มูลค่าของสิ่งของที่ซื้อกลับไทยนั้น ควรมีราคารวมกันเป็นเท่าไร จึงไม่เสี่ยงผิดกฎระเบียบของศุลกากร สิ่งของใดที่มีข้อจำกัดในการซื้อบ้าง ซื้อได้ปริมาณเท่าไร คิดจะพักมีคำตอบ อยากให้ลองอ่านสักนิด เป็นเกร็ดความรู้ น่าสนใจค่ะ

 

ข้อควรทราบสำหรับการนำของติดตัวเข้าทางอากาศยานสำหรับผู้โดยสาร

 

การตรวจสัมภาระผู้โดยสารขาเข้า ณ ช่องไม่มีสิ่งของต้องสำแดง หรือ ช่องเขียว (Nothing to declare)

 

 

ไม่มีสิ่งของต้องสำแดง หมายถึง ผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งไม่มีของต้องชำระภาษีอากร ไม่มีของต้องห้าม หรือของต้องกำกัดเข้ามาพร้อมกับตน ให้เดินผ่านช่องตรวจเขียวหรือช่องไม่มีของต้องสำแดง โดยของที่ได้รับยกเว้นอากรมี ดังนี้

  • ของใช้ส่วนตัวที่มีปริมาณพอสมควรสำหรับใช้ส่วนตัวและมีมูลค่ารวมทั้งหมดไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่ง มิใช่ ของต้องห้าม ต้องกำกัด หรือเสบียงอาหาร
  • บุหรี่ไม่เกิน 200 มวนหรือยาสูบไม่เกิน 250 กรัมหรือน้ำหนักรวมทั้งหมดทุกประเภทไม่เกิน 250 กรัม.
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปริมาตรไม่เกิน 1 ลิตร

หากนำบุหรี่ ยาสูบ หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เข้ามาเกินกว่าปริมาณที่กำหนด โปรดหย่อนใส่กล่องที่กรมศุลกากรจัดไว้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดี

 

 

การตรวจสัมภาระผู้โดยสารขาเข้า ณ ช่องมีสิ่งของต้องสำแดงหรือ ช่องแดง (Goods to declare)

1. เอกสารที่ต้องนำมาแสดง
  •  หนังสือเดินทาง
  • บัญชีรายการสินค้า หรือใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)

 

 

2. ขั้นตอนในการดำเนินงาน
  • ผู้โดยสารที่มีสิ่งของต้องสำแดง ยื่นหนังสือเดินทาง พร้อมบัญชีรายการสินค้า หรือใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
  • เจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำช่องแดงตรวจสอบหนังสือเดินทาง และเปิดตรวจกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสาร เพื่อพิจารณารายการสิ่งของ โดยจำแนกการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ดังนี้

            กรณีที่ 1 เป็นของติดตัวผู้โดยสาร ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นเชิงการค้าและมีมูลค่าไม่เกิน 200,000 บาท

             วิธีปฏิบัติ
                * เจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำช่องแดง คำนวณค่าภาษีอากรปากระวาง
                * ผู้โดยสารชำระค่าภาษีอากรด้วยเงินสด หรือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ (บัตรเดบิต/บัตรเครดิต) ในกรณีที่ด่านศุลกากรมีระบบรับชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์   ….. โดยผู้โดยสารชำระค่าธรรมเนียมการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามอัตราที่ธนาคารกำหนด
                 * รับใบเสร็จรับเงินและรับสิ่งของ

            กรณีที่ 2 เป็นของต้องห้าม และ/หรือต้องกำกัดที่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

            วิธีปฏิบัติ
                * ให้ดำเนินคดีกับผู้โดยสาร

            กรณีที่ 3 เป็นของที่ไม่เข้าลักษณะในกรณีที่ 1 และ 2

            วิธีปฏิบัติ
                * ผู้โดยสารจัดทำใบขนสินค้าขาเข้ายื่น ณ ฝ่ายพิธีการกลาง ส่วนบริการภาษีอากร ชั้น 2 อาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
                * ชำระค่าภาษีอากรด้วยเงินสด หรือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ (บัตรเดบิต/บัตรเครดิต) ในกรณีที่ด่านศุลกากรมีระบบรับชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์   ….. โดยผู้โดยสารชำระค่าธรรมเนียมการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามอัตราที่ธนาคารกำหนด
                * รับใบเสร็จรับเงินและรับสิ่งของ

 

 

ถ้าเราเข้าใจข้อจำกัดและรู้ในสิ่งที่คาใจ กลับจากการท่องเที่ยวครั้งใด ไม่ต้องกังวลเมื่อผ่านสนามบิน โดยเฉพาะด่านสุดท้ายหลังรับกระเป๋า นั่นคือ ศุลกากร 

 


อ้างอิง :
กรมศุลกากร
สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สผภ.)
อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2134-0401 หรือ 0-2667-7000 ต่อ 25-3106
อีเมล์ : [email protected]

 

คลุกคลีอยู่ในวงการสื่อกว่า 26 ปี