“ประเพณีออกหว่า” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม แห่งเดียวในโลก

คิดจะพัก-“ประเพณีออกหว่า”ซึ่งอยู่ในเทศกาลออกพรรษาแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนการจัดงานประเพณีออกหว่าในปีนี้มีกิจรรมเด่น ได้แก่ การตักบาตรพระสงฆ์ในเวลาตี 3 – 6 โมงเช้าตลอดทั้งสามวันที่จัดงานอันเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีเพียงแห่งเดียวในโลก เทศกาลออกพรรษาของชาวอําเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เรียกว่า ประเพณีออกหว่า


จะมีการประดิษฐ์จองพารา ซุ้มราชวัตร และโคมไฟประดับตามบ้านเรือนเพื่อแสดงถึงการรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่เสร็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับสู่โลกมนุษย์โดยมีพิธีตักบาตรตามวิถีไทยใหญ่ ขบวนแห่เทียนเหง หรือ เทียนพันเล่มไปตามถนนสายต่างๆ ในเขตเทศบาลตําบลแม่สะเรียง อําเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน


งานประเพณีออกหว่า เป็นงานประเพณีออกพรรษาตามความเชื่อของชาวอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โดยคำว่า “ออกหว่า” หมายถึง “การออกจากฤดูฝน” ยังมีกิจกรรมแห่เทียนเหง ในวันแรม 1-14 ค่ำเดือน 11
โดยประเพณีการแห่เทียนเหงที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการถวายเป็นพุทธบูชาซึ่งเป็นประเพณีหนึ่งที่สืบทอดมาจากไทยใหญ่ เทียนเหงเป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า เทียนพันเล่มไทยใหญ่เรียกว่า “หลู่เตนเหง” คำว่า หลู่ แปลว่า ถวายหรือทาน คำว่า “เตน” แปลว่า เทียนและคำว่า “เหง” แปลว่า หนึ่งพัน ชาวพื้นเมืองพูดกันว่า “ตานเตนเหง” หรือ แห่เทียนเหง

ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีแห่งเดียวในประเทศไทยที่ยังแสดงออกให้เห็นถึงการอนุรักษ์สืบสานประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมของพื้นบ้านโดยงานประเพณีออกหว่า ชาวอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่อยู่ต่างถิ่นจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อร่วมทำบุญและร่วมงานประเพณีออกหว่ากับครอบครัว


โดยจะมีการตักบาตรพระสงฆ์ที่หน้าบ้านของตนเองในเวลาตี 4 ตลอดทั้ง 3 วันซึ่งจะตักบาตรอาหารสดในวันแรก และอีกสองวันที่เหลือจะตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งเนื่องจากชาวอำเภอแม่สะเรียงมีความเชื่อกันว่าการตักบาตรที่หน้าบ้านของตนเองจะเป็นสิริมงคลต่อบ้านและคนในครอบครัวซึ่งจะแตกต่างจากงานประเพณีออกพรรษา

ในท้องถิ่นอื่นกิจกรรมของงานประเพณี ออกหว่า จะมีการจัดทำซุ้มราชวัติ ( ปราสาทรับเสด็จพระพุทธจ้า)ชาวไตมักเรียกว่า “กยองเข่งปุด” เพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้า ชาวอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเชื่อกันว่าในวันออกพรรษา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์


วันนี้เองที่พุทธศาสนิกชนจะตกแต่งหน้าบ้านของตนเองเป็นซุ้มราชวัติประดับประดาด้วยโคมไฟ “โคมหูกระต่าย”ตกแต่งด้วยดอกไม้ ต้นกล้วย ต้นอ้อย ช่อตุง ประทีบโคมไฟประซุ้มประตูบ้านเป็นรูปปราสาทอย่างสวยงามเปรียบเหมือนการต้อนรับพระพุทธเจ้าที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมา ประชาชนจะจัดทำซุ้มราชวัตรก่อนงานออกหว่า อย่างน้อย 3-5 วัน
โดยในแต่ละบ้านจะทำ ซุ้มราชวัติเล็กๆ บริเวณหน้าบ้านของตนตามแต่ฐานะแต่ในหนึ่งหมู่บ้าน หรือชุมชน
จะมีศูนย์กลางซุ้มราชวัตรที่ชุมชนร่วมกันจัดขึ้น


การจัดทำราชวัติ จะจัดกันล่วงหน้างาน อย่างน้อยสองวัน คือก่อน วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีกิจกรรมลานวัฒนธรรมวัดอุทยารมณ์ (จองสูง)-วัดศรีบุญเรืองกาดหมั้วครัวฮอม นิทรรศการภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองแม่สะเรียงกิจกรรมถนนคนเดินและนิทรรศการหน่วยงานต่างๆ โดยตลอดช่วงงานประเพณีออกหว่าจะมีการประดับโคมไฟหลากหลายรูปแบบและซุ้มราชวัตร อย่างสวยงามตามท้องถนนและบ้านเรือนทั่วทั้งตัวอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

และในปีนี้ยังเน้นเรื่องการปฏิบัติตามมาตรการป้องเชื้อ COVID-19 เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่มาร่วมงานภายในขบวนก็จะจัดสิ่งของเครื่องไทยธรรม มีเทียนจำนวน 1 พันเล่มโคมหูกระต่าย โคมกระบอก ตุงและตุงจ่องกรวยดอกไม้จำนวนอย่างละ 1 พันในวันคืนแห่เทียนเหง จะมีขบวนสตรีที่ แต่งกายแบบหญิงไทยใหญ่ นำเครื่องไทยธรรมดังกล่าวร่วมขบวน

และในวันนี้สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ ต้นโคมหูกระต่าย ที่ทำเป็นชั้น ๆ เหมือนฉัตรหรือรูปปิรามิด จำนวน 1 ต้นและต้นเกี๊ยะที่นำเอาไม้สนสามใบมาจักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ยาวประมาณ 2.5 เมตรแล้วนำมามัดรวมกันเป็นต้นเกี๊ยะ เพื่อจุดบูชาพระพุทธเจ้า

หลังจากเสร็จพิธีกรรมทางศาสนาแล้วในขบวนก็จะมีการละเล่นที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชนมีการแต่งตัวที่สมมุติเป็นเทพบุตร เทพธิดา และสัตว์ป่าหิมพาน นานาชนิดเช่น การฟ้อนโต การฟ้อนกิ่งกะหล่า การฟ้อนก๋ำเบ้อคง การฟ้อนเขียดแลว การฟ้อนผีโขน

ช่างภาพดอกไม้และใบหญ้า มีกล้องอยู่ข้างกาย เท้าซ้ายเข้าเกียร์